• ICT
  • ประวัติ โรงเรียนบ้านแก่งชัชวลิตวิทยา
  •   โรงเรียน บ้านแก่งชัชวลิตวิทยา เกิดขึ้นจากท่าน พระพรหมมุนี รองเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร [พระธรรมดิลก(วิชมัย บุญมาก) ยศขณะนั้น]
    ในอดีตเป็น คนในท้องถิ่นนี้ ปรารถนาที่จะให้มีสถานศึกษาในระดับมัธยมศึกษาเกิดขึ้นในตำบลบ้านแก่ง เพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักเรียนที่เรียนจบชั้นประถมศึกษาทั้งในตำบลบ้านแก่ง และตำบลใกล้เคียง ที่มีความประสงค์ในการเรียนต่อในระดับมัธยมศึกษา ไม่ต้องไปเรียนไกลบ้านและเป็นการประหยัดค่าใช้จ่าย เนื่องจากประชาชนในท้องถิ่น ส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร มีฐานะทางเศรษฐกิจไม่ดีนัก โดยคาดหมายว่าหากประชาชนในท้องถิ่นมีการศึกษาสูงขึ้น จะทำให้ท้องถิ่นพัฒนาและเจริญขึ้น ซึ่งเจ้าของที่ดินที่โรงเรียนตั้งอยู่ในปัจจุบัน ยินดีสนับสนุนโดยขายที่ดินให้ประมาณไร่ละ 6,000 บาท ท่านพระพรหมมุนีจึงได้ดำเนินการโดยขอดอกผลจากกองทุน หม่อมเจ้าชัชวลิต เกษมสันต์ ในมูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย จำนวน130,000 บาท (หนึ่งแสนสามหมื่น บาทถ้วน) มาดำเนินการโดยมีท่านพระครูนิวิฐ ศาสนคุณ เจ้าอาวาสวัดบ้านแก่ง เป็นประธาน ดำเนินการตามเงื่อนไขของกรมสามัญศึกษา พระพรหมมุณี ได้ขอทุนของคุณนายเข็มทอง โอสถาพันธ์ จำนวน100,000 บาท เพื่อจัดสร้างอาคารชั่วคราว 6 ห้องเรียน และมีหม่อมคล้อง เกษมสันต์ บริจาค 100,000 บาท คุณหญิงสาคร จำรูญเนติศาสตร์ ร่วมบริจาค 10,000 บาท นอกจากนี้ยังได้รับความร่วมมือจากประชาชนในท้องถิ่น และผู้มีจิตศรัทธาจากที่อื่นๆ ร่วมบริจาคทรัพย์สมทบทุนก่อสร้างโรงเรียนอีกจำนวน 33,225 บาท
      เงิน ที่ได้รับบริจาคทั้งหมดสามารถนำมาจัดหาที่ดินได้จำนวน 35 ไร่ 20 ตารางวา และก่อสร้างอาคารเรียนชั่วคราวขนาด 8 X 48 ตารางเมตร ใช้เป็นห้องเรียนได้
    จำนวน 6 ห้องเรียนเสนอให้ กรมสามัญศึกษาพิจารณาจัดตั้งโรงเรียน
      วัน ที่ 1 มิถุนายน 2519 กรมสามัญศึกษาได้ประกาศตั้งโรงเรียนชื่อว่าบ้านแก่งชัชวลิต-วิทยา โดยใช้พระนามของหม่อมเจ้าชัชวลิต เกษมสันต์ มาเป็นสร้อยต่อ
    ท้ายชื่อโรงเรียนเพื่อเป็นสิริมงคล และเป็นอนุสรณ์ให้อนุชนภายหลังได้ทราบและระลึกถึงพระคุณของท่าน
      เพื่อ ให้สอดคล้องกับพระนามชัชวลิต ซึ่งมีความหมายว่า “รุ่งเรือง” โรงเรียนได้นำพุทธภาษิตมาเป็นคติธรรมของโรงเรียนว่า “ อติ โรจติ ปญญาย”
    ซึ่งแปลว่า คนรุ่งเรืองยิ่งด้วยปัญญา พร้อมด้วยเครื่องหมาย คบเพลิง อันหมายถึงแสงสว่าง มาเป็นสัญลักษณ์ของโรงเรียน
      พ.ศ. 2519 โรงเรียนเปิดรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ( ม.ศ. 1) ครั้งแรกจำนวน 2 ห้องเรียน มีนักเรียน 91 คน โดยมี นายมนัส ศรีภูธร เป็นครูใหญ่
      พ.ศ. 2520 สร้างอาคารเรียนชั่วคราว 4 ห้องเรียน 1 หลัง
      พ.ศ. 2521 ได้รับจัดสรรงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียนคอนกรีตแบบ 216 ค. ครึ่งหลัง จำนวน 8 ห้องเรียน มีครู 16 คน ภารโรง 2 คน นักเรียน 330 คน
      พ.ศ. 2525 กรมสามัญศึกษาได้ให้ นายวิทูร อรรถธรรมสุนทร มาดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ โรงเรียนได้มีการพัฒนาเพิ่มขึ้น โดยมีอาคารเรียนถาวรแบบ
    216 ค.16 ห้องเรียน 1 หลัง อาคารเรียนชั่วคราว 4 ห้องเรียน 1 หลัง และอาคารเรียนชั่วคราว 6 ห้องเรียน 1 หลัง (ของเดิมตั้งแต่ก่อตั้ง) ปัจจุบันได้ดัดแปลงเป็นห้องเก็บอุปกรณ์ ( 3 ห้อง) เป็นห้องเรียนอีก 3 ห้อง
      พ.ศ. 2527 ชาวบ้านตำบลบ้านแก่งพร้อมใจกันถวายเงินให้เจ้าอาวาสวัดบ้านแก่ง เพื่อสมทบ ซื้อที่ดินบริจาคให้โรงเรียน ทำให้โรงเรียนมีที่ดินเพิ่มขึ้นเป็น
    40 ไร่
      พ.ศ. 2529 โรงเรียนเข้าโครงการ มพช. 2 รุ่นที่ 4 ได้งบประมาณสร้างอาคารเรียนแบบ CS 208 A 1 หลัง งบประมาณ1,986,200. บาท โรงฝึกงาน H I A
    คหกรรม   อุตสาหกรรมและเกษตรกรรม 2 หลัง 3 หน่วย งบประมาณ 1,340,200.- บาท และระบบน้ำประปาพร้อมถนน
      พ.ศ. 2533 โรงเรียนเข้าโครงการขยายโอกาสทางการศึกษา
      พ.ศ. 2535 - 2543 มีนายโสภณ สารธรรม เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนและเมื่อพ.ศ. 2540 โรงเรียนได้รับงบประมาณสร้างถนนคอนกรีตรอบบริเวณโรงเรียน ปู
    พื้นกระเบื้องชั้นล่างทั้งอาคาร 216 ค. และ อาคาร CS 208 A
      พ.ศ. 2543 โรงเรียนได้รับงบประมาณก่อสร้างโรงอาหารหอประชุม แบบ 100/27 1 หลังงบประมาณ 4,239,000.- บาท
      พ.ศ. 2544 ( ก.พ.- ต.ค) นายสุวัฒน์ ลีวุฒินันท์ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ  28 พฤศจิกายน 2544 - 4 ธันวาคม 2546 นายประเสริฐ สิทธิธูรณ์ ดำรงตำแหน่ง
    ผู้อำนวยการ
      พ.ศ. 2545 ผู้อำนวยการประเสริฐ สิทธิธูรณ์ ร่วมกับชุมชนท้องถิ่น ได้ก่อสร้างปรับปรุงชั้นล่างของอาคาร CS 208 A เป็นห้องประชุมศูนย์เทคโนโลยีการศึกษา
    โดยไม่ใช้งบประมาณจากทางราชการ
      พ.ศ. 2546 – 28 กันยายน 2555 นายณรงค์ คำธรรม ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ
      พ.ศ. 2547 โรงเรียนได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารชั่วคราว 1 หลัง โรงอาหาร 1 หลัง และห้องน้ำห้องส้วม 6 ที่นั่ง 1 หลัง
      พ.ศ. 2548 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณตามแผนยุทธศาสตร์พัฒนาจังหวัดนครสวรรค์ของผู้ว่า ราชการจังหวัดนครสวรรค์ ดร.พีระพล ไตรทศาวิทย์ ปรับปรุง
    หลังคาอาคารโรงอาหารเก่าเป็นศูนย์ศิลปะและวัฒนธรรม เป็นเงิน หนึ่งแสนบาท
      พ.ศ. 2549 ได้ปรับปรุงและต่อเติมอาคาร CS 208 A ด้านหลัง เป็นห้องสมุดและห้องผู้อำนวยการ
      พ.ศ. 2550 ได้รับงบประมาณซ่อมแซมหอประชุมโรงอาหาร แบบ 100 / 27
      พ.ศ. 2551 ได้รับงบประมาณทาสีอาคารเรียนทั้งหมดและปรับปรุงห้องน้ำห้องส้วม รวมทั้งขยายทางเดินเข้าโรงเรียน
      พ.ศ. 2552 ได้รับงบประมาณช่วยเหลืออุทกภัย จัดสร้างคันดินกั้นน้ำรอบโรงเรียน และปรับปรุงเทพื้นสนามบาสเกตบอล
      พ.ศ. 2553 ได้รับงบประมาณสนับสนุนโรงเรียนดีประจำอำเภอ โรงเรียนดีใกล้บ้าน โรงเรียนในฝันรุ่นที่ 3 สร้างห้องน้ำห้องส้วม ปรับปรุงอาคารชั่วคราวและห้อง
    ปฏิบัติการเครื่องปั้นดิน เผา
      พ.ศ. 2554 ได้รับงบประมาณปรับปรุง ซ่อมแซมอาคารเรียนอาคารประกอบและสิ่งก่อสร้างที่ชำรุดทรุดโทรมและประสบอุทกภัย
      27 ธันวาคม 2555 นายบรรพต สมสวย ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ
      ปัจจุบัน โรงเรียนบ้านแก่งชัชวลิตวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42 สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวง
    ศึกษาธิการ   ตั้งอยู่ที่   เลขที่   238   หมู่   8   ถนนรังสิโยทัย   ตำบลบ้านแก่ง   อำเภอเมืองนครสวรรค์   จังหวัดนครสวรรค์   60000   โทร.056-362214  
    โทรสาร.056-347089 website:http://www.bankeang.ac.th


                             
              

     

              


    ปรับปรุงข้อมูลเมื่อ 2022-12-27 14:39:06 น.

โรงเรียนบ้านแก่งชัชวลิตวิทยา สพม.นครสวรรค์ โทรศัพท์: 0-5634-7089 อีเมล์: [email protected]
เว็บมาสเตอร์:: Ⓒ ระบบเว็บไซต์สถานศึกษา  WEB School CMS V.2 [ติดต่อทีมพัฒนา]